วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

คำถามท้ายบท


คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 1
1.องค์กรสหประชาชาติมีบทบาทสำคัญระดับโลกอย่างไร
องค์กรสหประชาชาติ เป็นสถาบันระดับโลกที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ใน ค.ศ.1945 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  องค์กรสหประชาชาติมีบทบาทในการพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประเทศ ร่วมมือแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศ ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเป็นศูนย์กลางการสมานฉันท์ในการดำเนินนโยบายของชาติต่างๆ
2.การรวมกลุ่มของประเทศในแถบยุโรปเป็นสหภาพยุโรป ส่งผลดีต่อทวีปยุโรปและเศรษฐกิจของโลกอย่างไร
การรวมกันเป็นสหภาพทำให้สหภาพยุโรปเป็นองค์กรที่ปกป้องผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกและกีดกันประเทศนอกกลุ่มจากสิทธิพิเศษต่างๆดังนั้น การเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปจึงทำให้ประเทศสมาชิกได้ประโยชน์ ส่วนประเทศนอกสหภาพยุโรปหากมีความร่วมมือกับประเทศสมาชิกประเทศใดประเทศหนึ่งในสหภาพยุโรป เช่นด้านเศรษฐกิจ ก็จะได้โอกาสในการติดต่อหรือร่วมมือกับประเทศสมาชิกอื่นๆของสหภาพยุโรปด้วย
 3.สมาคมอาเซียนมีความสำคัญต่อภูมิภาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีความสำคัญต่อเวทีโลกอย่างไร
สมาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1967 มีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วิชาการ และวัฒนธรรม เพื่อสร้างความมั่นคง ความเป็นปึกแผ่นของประชาชาติและภูมิภาคซึ่งความสำคัญของอาเซียนที่มีต่อโลก คือเป็นแหล่งส่งออกพืชผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และอาหารที่สำคัญของโลก เช่นข้าว  ยางพารา  เป็นแหล่งผลิตอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ เช่น สิ่งทอ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยางรถยนต์
4.องค์กรพัฒนาเอกชนมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งอย่างไร
องค์กรพัฒนาเอกชน เป็นองค์กรภาคประชาชน ซึ่งดำเนินการอย่างอิสระ มีทั้งเป็นสถาบัน สมาคม และมูลนิธิ ก่อตั้งขึ้นมาโดยมัวัตถุประสงค์ด้านต่างๆ เช่น ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมเป็นต้น
5.องค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศมีบทบาทสำคัญอย่างไร
สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยมีบทบาทหลายเรื่อง เช่น การเรียกร้องสิทธิด้านการศาลของผู้ประท้วงทางการเมือง การเรียกร้องให้คุ้มครองครูละนักเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่อยู่ท่ามกลางความไม่สงบ การให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม เช่น เด็กกำพร้า คนพิการ ผู้ป่วย เป็นต้น


คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 2
1.ความหลากหลายของประชากรโลกในยุคปัจจุบันมีลักษณะอย่างไร
ประชากรของโลกในปัจจุบันมีความหลากหลายทางชีวภาพหรือความแตกต่างทางชาติพันธ์มาก โดยอาจแบ่งกลุ่มประชากรของโลกได้กว้างๆ เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มคอเคซอยด์ ได้แกด่ชนผิวขาว เช่นชาวตะวันตก ชาวอารยัน กลุ่มมองโกลอยด์ ได้แก่ ชนผิวเหลืองส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชีย และกลุ่มนิกรอยด์ ได้แก่ ชนผิวดำ ที่เรียกว่า นิโกรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา
2.สังคมอเมริกันมีอัตลักษณ์อย่างไร และแตกต่างจากสังคมอื่นอย่างไร
อัตลักษณืหนึ่งที่สังคทอเมริกันหรือคนอเมริกั้นตระหนักและภาคภูมิใจคือการเป็นสังคมที่สามารถรวมเชื้อชาติที่หลากหลายให้กลายเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้ความเป็นคนอเมริกันได้ และเชื่อว่าอัตลักษณ์ความเป็นอเมริกันอย่างหนึ่งก็คือการมีเสรีถาพ ชาวอเมริกันทุกคนไม่ว่าเชื้อชาติใดต่างมีเสรีภาพที่เท่าเทียมกันภายใต้กฏหมายเดียวกัน
3.ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปแอฟฟิกามีความเป็นอยู่ที่แตกต่างจากประชาชนในทวีปอื่นๆอย่างไรเพราะเหตุใด
ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปหนึ่งที่มีความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์เพระมีพื้นฐานของความเป็นสังคมชนเผ่ามาตั้งแต่อดีต ประเทศในทวีปแอฟริกาจึงมีพลเมืองจากหลายชนเผ่า ทำให้หลายประเทศเกิดความขัดแย้งภายในเนื่องจากความแตกต่างด้านชาติพันธุ์ของประชากรจนกลายเป็นสงครามกลางเมืองเช่น ใน แอฟริกาใต้ รวันดา อูกันดา  คองโก ตรินิแดด เป็นต้น
4.ความหลากหลายในด้านชาติพันธุ์ส่งผลกระทบต่อความขัดแย้งในสหภาพพม่าอย่างไร
ความหลากหลายด้านชาติพันธุ์ซึ่งพม่ามีส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศเพระประชากรมีความแตกต่างกันทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ภาษา และในอดีตก็มีรัฐใหญ่น้อยที่เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน ดังนั้น เมื่อเข้าสู่สมัยอาณานิคม หลายชาติในเอเชียได้พัฒนาเป็นรัฐชาติที่มีศูนย์กลางการปกครอง มีดินแดนที่แน่นอน ทำให้ประชากรหลากหลายชาติพันธุ์ในพม่าไม่เกิดความผูกพันในลักษณะที่เป็นประชากรของประเทศพม่า
5.ประเทศต่างๆในทวีปเอเชียมีอัตลักษณ์อย่างไร
การให้ความสำคัญในทั้งด้านการพูด การแต่งกาย อาหารการกิน การยึดมั่นประเพณี และการศึกษา และ ความรู้สึกต่อด้านคนเชื้อชาติอื่นของคนพื้นเมือง เกิดจากความรู้สึกแปลกแยก ก็คือผู้ที่เกิดในประเทศนั้นๆ ประกอบกับเหตุผลอื่น เช่นการควาบคุมทางเศรษฐกิจ และจำนวนของประชากร ทำให้คนท้องถิ่นกิดความรู้สึกไม่มั่นคงต่อสถานะของความเป้นเจ้าของประเทศ


คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 3
1.เพราะเหตุใดเราจึงเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่านิยมของสังคมโลก
ค่านิยมเป็นสิ่งที่สังคมและบุคคลยอมรับนับถือว่าเป็นสิ่งดีงาม เหมาะแก่การปฏิบัติตาม ดังนั้นค่านิยมจึงมีบทบาทโดยตรงต่อการกระทำและการตัดสินใจของบุคคลและสังคมหนึ่งๆ ค่านิยมเป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อพบหรือมีค่านิยมใหม่ที่คนในสังคมหรือบุคคลพอใจและยอมรับไว้
2.ค่านิยมเกี่ยวกับเพศสภาพในสังคมโลกตะวันออกและโลกตะวันตกแตกต่างกันอย่างไรจงอธิบายพอสังเขป
ในสังคมต่าง มีค่าเกี่ยวกับสถานะทางเพศของบุคคลต่างกัน ในสังคมโลกตะวันออก เช่น จีน อินเดีย และสังคมอิสลาม ผู้หญิงมีสถานะต่ำและมีความสำคัญน้อยกว่ากว่าผู้ชาย สังคมตะวันตกในอดีตให้สิทธิผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง แต่ประเทศยุโรปหลายไประเทศในอดีต เช่น อังกฤษ สเปน เนเธอร์แลนด์ ก็มีผู้ปกครองเป็นผู้หญิง
3.สื่อมีอิทธิพลต่อการสร้างค่านิยมของคนในสังคมอย่างไร
สื่อมีอิทธิพลต่การสร้างค่านิยม เพราะในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ทำได้ง่ายดายและรวดเร็ว ทำให้ค่านิยมที่มากับสื่อต่างๆเข้ามาสู่สังคมได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ เป็นต้น


คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 4
1.ความเป็นธรรมในสังคมโลกจะเกิดขึ้นได้นั้น  คนในสังคมต้องประพฤติปฏิบัติตนอย่างไร
การสร้างความยุติธรรมในสังคมยังทำได้โดยการปลูปฝังแนวคิดเรื่องการเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น และการรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบของคนในสังคม การมีความเคารพในสิทธิของผู้อื่นจะทำให้เกิดการยอมรับในความเสมอภาคเท่าเทียมของมนุษย์ทุกคน โดยไม่เลือกหรือไม่แบ่งแยกว่าเป็นคนเชื้อชาติใด ศาสนาใด เป็นคนรวยหรือคนจน เป็นคนมีแนวคิดทางการเมืองเช่นเดียวกันหรือมีแนวคิดต่างกัน
2.ความไม่เป็นธรรมในสังคมมีสาเหตุหลักมาจากอะไรบ้าง อธิบายมาพอสังเขป
เกิดจากการใช้อำนาจของทหารอย่างไม่เป็นธรรม 
 การใช้อำนาจของรัฐบาลอย่างไม่เป็นธรรม
  การใช้อำนาจของบุคคลอย่างไม่เป็นธรรม
3.นักเรียนคิดว่าสังคมมีความยุติธรรม มีลักษณะอย่างไร
การที่สังคมมีความยุติธรรมคนในสังคมได้รับความเสมอภาคเท่าเทียม ทำให้สังคมไม่เกิดความแตกแยก ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย เพราะทุกคนอยู่ภายใต้ความยุติธรรม และมีสิทธิเท่าเทียมกัน ได้รับโอกาสขั้นพื้นฐานในสังคมเช่นเดียวกัน


คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 5
1.สิทธิมนุษยชนมีความสำคัญอย่างไรกับความสงบสุขของสังคมโลก
เพาระหากรัฐบาลทุกประเทศในโลกปฏิบัติต่อประชาชนตามวิถีทางประชาธิปไตยและต่อชาวต่างชาติที่หนีร้อนมาพึ่งเย็น หรือทำมาหากินในประเทศอย่างมีมนุษยธรรมดาตามสมควรแล้วความขัดแย้งระหว่างรัฐบสลกับประชาชนในประเทศจะไม่เกิดขึ้น
2.สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในปัจจุบันของโลกมีอะไรบ้าง แล้วเป็นอย่างไร อธิบายใพอสังเขป
องค์กรสหประชาชาติมีมติรับรองปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีหลักการสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่
1.ด้านการเมืองและสิทธิความเป็นพลเมือง
2.สิทธิด้านสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม
3.สิทธิขุ้นพื้นฐานของบุคคล เช่น สิทธิในการนับถือศาสนา สิทธิที่จะอยู่อย่างสงบสันติ และสิทธิที่จะได้รับการพัฒนา
3.ยกตัวอย่างการละเมิดสิทธิมนุษยชนในโลกปัจจุบัน พร้อมบอกแนวทางแก้ไขปัญหา
ปัญหาการละเมิอสิทธิมนุษยชนเด็ก แนวทางแก้ไขปัญหาคือ
 1.การส่งเสริมเยาวชนให้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาของโลก
2.การแก้ไขปัญหาความยากจน และส่งเสริมด้านการศึกษา


คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 6
1.ปัญหาความขัดแย้งระดับประเทศที่เกิดขึ้นในสังคมโลกในปัจจุบันมีอะไรบ้าง และเป็นอย่างไร
ความขัดแย้งระดับท้องถิ่น คือความขัดแย้งภายในสังคมหนึ่ง ซึ่งอาจหมายถึงสังคมระดับชุมชน เมือง
ความขัดแย้งระดับประเทศ เป็นความขัดแย้งที่เป็นปัญหาขนาดใหญ่ และส่งผลกระทบต่อความสงบสุขมั่นคงของคนในชาติ
ความขัดแย้งระดับนานาชาติ เป็นความขัดแย้งที่มีคู่กรณีหลายประเทศ หรือความขัดแย้งส่งผลกระทบต่อนานาชาติ  เช่นปัญหาการเมืองหาการแข่งขันการเป็นผู้นำด้านต่างๆ
2.นักเรียนคิดว่าวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามามีอิทธิพลต่อชาติของเราหรือไม่ อย่างไร
มี เพราะวัฒนธรรมต่างชาติทำให้เกิดความหลากหลายทางด้าน ศาสนา และทำให้เกิดความเชื่อในศาสนาของตน และอาจเกิดความขัดแย้งกันได้ เพราะอาจทำให้ทุกคนไม่เข้าใจกันเนื่องจากนับถือคนละอย่างก็อาจอยู่กันเป็นกลุ่มๆ
3.แนวทางการแก้ไขปัญกาความขัดแย้งในด้านเชื้อชาติ ศาสนา นักเรียนมีข้อเสนอแนะอย่างไรเกี่ยวกับปัญหานี้
การเปิดรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างเพื่อทำความเข้าใจระหว่างกัน การเรียนรู้ความแตกต่างของวัฒนธรรมเพื่อที่จะปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง การเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่าง การจัดเสวนาหรือเจรจาเพื่อทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน การจัดกิจกรรมระหว่างกลุ่มที่แตกต่างทางวัฒนธรรม เป็นต้น


คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 7
1.เพราะเหตุใดนักเรียนจึงต้องรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านทรัพยากรและธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก
เพราะจะได้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นกับโลก เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ในฤดูร้อนอากาศจะแห้งแล้งมากขึ้น ส่งผลกรทบต่อการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในการดำรงชีวิตของประชากรในหลายพื้นที่ของโลก
2.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีแนวทางอย่างไร
การมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่า ลดและเลิกการใช้สารพิษ การใช้ทรัพยากรให้หลากหลาย การให้ความช่วยเหลือกัน การปลูกป่า การสร้างและพัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาแบบยั่งยืน เป็นต้น
3.การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนมีองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้างและมีความจำเป็นต่อสังคมปัจจุบันอย่างไร
คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน 
ความมั่นคงของเศรษฐกิจของชุมชน
ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความต้องการใช้ของประชาชน
ในการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนนั้นต้องมีการประเมินถึงความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของประชากรในชุมชนกับทรัพยากรที่มีอยู่ การพัฒนาที่จะก่อให้กิดผลที่ยั่งยืนยาวนาน คือการพัฒนาที่ไม่ก่อให้เกิดความเทรื่อมโทรมแก่คุณภาพสิ่งแวดล้อมและต้องกระทำอย่างจริงจัง


คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 8
1.โลกาภิวัตน์มีอิทธิพลต่อสังคมอย่างไร จงอธิบาย
การที่โลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์หรือโลกไร้พรมแดน นอกจากจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านการติดต่อสื่อสาร การขยายตัวของเศรษฐกิจการค้า และการเกิดวัฒนธรรมที่มีความเป็นสากล โลกาภิวัตน์ยังมีอิทธิพลทางด้านการเมือง สังคม และการตัดสินใจของบุคคลและสังคมด้วย
2.ยกตัวอย่างอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ที่มีผลต่อวัฒนธรรมของไทย พร้อมอธิบายมาพอสังเขป
การติดต่อสื่อสารอย่างกว้างขวางและแพร่หลายทั่วโลก ทำให้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมหนึ่งไปยังสังคมอื่นมากขึ้น นำไปสู่การเกิดวัฒนธรรมและค่านิยมสากลขึ้น เช่น วัฒนธรรมชุมชนออนไลน์ ค่านิยมเรื่องสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
3.ค่านิยมเรื่องใดบ้างที่เกิดจากอิทธิพลของโลกาภิวัตน์
ค่านิยมเรื่องสังคม
ค่านิยมเรื่องวัฒนธรรม
ค่านิยมเรื่องการเมือง

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน  เป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,570 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ
อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพ" อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมาของอาเซี่ยน  

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย
จน กระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่ง ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10ประเทศ ได้แก่ ทุกประที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้ 
ความ ประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภาย นอกที่มั่นคง (เพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้าง ประเทศ) ความกลัวต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ความ ศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกเสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์ต่างกับการจัดตั้งสหภาพยุโรป เนื่องจากกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม

วันก่อตั้งสมาคมอาเซียน

             8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 วันก่อตั้ง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ "สมาคมอาเซียน" (Association of Southeast Asian Nations - ASEAN) โดยมีสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์ ได้ร่วมกันลงนามใน "คำประกาศอาเซียน" (ASEAN Declaration) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อยกระดับการครองชีพและฐานะทางเศรษฐกิจ และความเจริญในทางเทคนิค วิชาการร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ต่อมาได้รับประเทศสมาชิกเพิ่มเติมคือ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และ กัมพูชา รวมเป็น 10 ประเทศ ทั้งนี้อาเซียนมีจุดเริ่มต้นมาจาก สมาคมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ "อาสา" (Association of Southest Asia - ASA) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2509 แต่ดำเนินมาได้ไม่นานก็ต้องหยุดชะงักเนื่องจากความผันผวนทางการเมือง ในที่สุดก็ยุบรวมเข้าเป็นสมาคมอาเซียน และดำเนินกิจกรรมมาจนถึงปัจจุบัน สำนักงานใหญ่ของอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยให้ประตัวแทนของประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันเป็นเลขาธิการของสมาคม ล่าสุดอาเซียนได้แต่งตั้งให้ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นเลขาธิการคนใหม่ ซึ่งจะดำรงตำในวันที่ 1 มกราคม 2551 ที่จะถึงนี้