วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

คำถามท้ายบท


คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 1
1.องค์กรสหประชาชาติมีบทบาทสำคัญระดับโลกอย่างไร
องค์กรสหประชาชาติ เป็นสถาบันระดับโลกที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ใน ค.ศ.1945 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  องค์กรสหประชาชาติมีบทบาทในการพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประเทศ ร่วมมือแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศ ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเป็นศูนย์กลางการสมานฉันท์ในการดำเนินนโยบายของชาติต่างๆ
2.การรวมกลุ่มของประเทศในแถบยุโรปเป็นสหภาพยุโรป ส่งผลดีต่อทวีปยุโรปและเศรษฐกิจของโลกอย่างไร
การรวมกันเป็นสหภาพทำให้สหภาพยุโรปเป็นองค์กรที่ปกป้องผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกและกีดกันประเทศนอกกลุ่มจากสิทธิพิเศษต่างๆดังนั้น การเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปจึงทำให้ประเทศสมาชิกได้ประโยชน์ ส่วนประเทศนอกสหภาพยุโรปหากมีความร่วมมือกับประเทศสมาชิกประเทศใดประเทศหนึ่งในสหภาพยุโรป เช่นด้านเศรษฐกิจ ก็จะได้โอกาสในการติดต่อหรือร่วมมือกับประเทศสมาชิกอื่นๆของสหภาพยุโรปด้วย
 3.สมาคมอาเซียนมีความสำคัญต่อภูมิภาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีความสำคัญต่อเวทีโลกอย่างไร
สมาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1967 มีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วิชาการ และวัฒนธรรม เพื่อสร้างความมั่นคง ความเป็นปึกแผ่นของประชาชาติและภูมิภาคซึ่งความสำคัญของอาเซียนที่มีต่อโลก คือเป็นแหล่งส่งออกพืชผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และอาหารที่สำคัญของโลก เช่นข้าว  ยางพารา  เป็นแหล่งผลิตอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ เช่น สิ่งทอ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยางรถยนต์
4.องค์กรพัฒนาเอกชนมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งอย่างไร
องค์กรพัฒนาเอกชน เป็นองค์กรภาคประชาชน ซึ่งดำเนินการอย่างอิสระ มีทั้งเป็นสถาบัน สมาคม และมูลนิธิ ก่อตั้งขึ้นมาโดยมัวัตถุประสงค์ด้านต่างๆ เช่น ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมเป็นต้น
5.องค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศมีบทบาทสำคัญอย่างไร
สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยมีบทบาทหลายเรื่อง เช่น การเรียกร้องสิทธิด้านการศาลของผู้ประท้วงทางการเมือง การเรียกร้องให้คุ้มครองครูละนักเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่อยู่ท่ามกลางความไม่สงบ การให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม เช่น เด็กกำพร้า คนพิการ ผู้ป่วย เป็นต้น


คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 2
1.ความหลากหลายของประชากรโลกในยุคปัจจุบันมีลักษณะอย่างไร
ประชากรของโลกในปัจจุบันมีความหลากหลายทางชีวภาพหรือความแตกต่างทางชาติพันธ์มาก โดยอาจแบ่งกลุ่มประชากรของโลกได้กว้างๆ เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มคอเคซอยด์ ได้แกด่ชนผิวขาว เช่นชาวตะวันตก ชาวอารยัน กลุ่มมองโกลอยด์ ได้แก่ ชนผิวเหลืองส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชีย และกลุ่มนิกรอยด์ ได้แก่ ชนผิวดำ ที่เรียกว่า นิโกรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา
2.สังคมอเมริกันมีอัตลักษณ์อย่างไร และแตกต่างจากสังคมอื่นอย่างไร
อัตลักษณืหนึ่งที่สังคทอเมริกันหรือคนอเมริกั้นตระหนักและภาคภูมิใจคือการเป็นสังคมที่สามารถรวมเชื้อชาติที่หลากหลายให้กลายเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้ความเป็นคนอเมริกันได้ และเชื่อว่าอัตลักษณ์ความเป็นอเมริกันอย่างหนึ่งก็คือการมีเสรีถาพ ชาวอเมริกันทุกคนไม่ว่าเชื้อชาติใดต่างมีเสรีภาพที่เท่าเทียมกันภายใต้กฏหมายเดียวกัน
3.ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปแอฟฟิกามีความเป็นอยู่ที่แตกต่างจากประชาชนในทวีปอื่นๆอย่างไรเพราะเหตุใด
ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปหนึ่งที่มีความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์เพระมีพื้นฐานของความเป็นสังคมชนเผ่ามาตั้งแต่อดีต ประเทศในทวีปแอฟริกาจึงมีพลเมืองจากหลายชนเผ่า ทำให้หลายประเทศเกิดความขัดแย้งภายในเนื่องจากความแตกต่างด้านชาติพันธุ์ของประชากรจนกลายเป็นสงครามกลางเมืองเช่น ใน แอฟริกาใต้ รวันดา อูกันดา  คองโก ตรินิแดด เป็นต้น
4.ความหลากหลายในด้านชาติพันธุ์ส่งผลกระทบต่อความขัดแย้งในสหภาพพม่าอย่างไร
ความหลากหลายด้านชาติพันธุ์ซึ่งพม่ามีส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศเพระประชากรมีความแตกต่างกันทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ภาษา และในอดีตก็มีรัฐใหญ่น้อยที่เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน ดังนั้น เมื่อเข้าสู่สมัยอาณานิคม หลายชาติในเอเชียได้พัฒนาเป็นรัฐชาติที่มีศูนย์กลางการปกครอง มีดินแดนที่แน่นอน ทำให้ประชากรหลากหลายชาติพันธุ์ในพม่าไม่เกิดความผูกพันในลักษณะที่เป็นประชากรของประเทศพม่า
5.ประเทศต่างๆในทวีปเอเชียมีอัตลักษณ์อย่างไร
การให้ความสำคัญในทั้งด้านการพูด การแต่งกาย อาหารการกิน การยึดมั่นประเพณี และการศึกษา และ ความรู้สึกต่อด้านคนเชื้อชาติอื่นของคนพื้นเมือง เกิดจากความรู้สึกแปลกแยก ก็คือผู้ที่เกิดในประเทศนั้นๆ ประกอบกับเหตุผลอื่น เช่นการควาบคุมทางเศรษฐกิจ และจำนวนของประชากร ทำให้คนท้องถิ่นกิดความรู้สึกไม่มั่นคงต่อสถานะของความเป้นเจ้าของประเทศ


คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 3
1.เพราะเหตุใดเราจึงเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่านิยมของสังคมโลก
ค่านิยมเป็นสิ่งที่สังคมและบุคคลยอมรับนับถือว่าเป็นสิ่งดีงาม เหมาะแก่การปฏิบัติตาม ดังนั้นค่านิยมจึงมีบทบาทโดยตรงต่อการกระทำและการตัดสินใจของบุคคลและสังคมหนึ่งๆ ค่านิยมเป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อพบหรือมีค่านิยมใหม่ที่คนในสังคมหรือบุคคลพอใจและยอมรับไว้
2.ค่านิยมเกี่ยวกับเพศสภาพในสังคมโลกตะวันออกและโลกตะวันตกแตกต่างกันอย่างไรจงอธิบายพอสังเขป
ในสังคมต่าง มีค่าเกี่ยวกับสถานะทางเพศของบุคคลต่างกัน ในสังคมโลกตะวันออก เช่น จีน อินเดีย และสังคมอิสลาม ผู้หญิงมีสถานะต่ำและมีความสำคัญน้อยกว่ากว่าผู้ชาย สังคมตะวันตกในอดีตให้สิทธิผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง แต่ประเทศยุโรปหลายไประเทศในอดีต เช่น อังกฤษ สเปน เนเธอร์แลนด์ ก็มีผู้ปกครองเป็นผู้หญิง
3.สื่อมีอิทธิพลต่อการสร้างค่านิยมของคนในสังคมอย่างไร
สื่อมีอิทธิพลต่การสร้างค่านิยม เพราะในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ทำได้ง่ายดายและรวดเร็ว ทำให้ค่านิยมที่มากับสื่อต่างๆเข้ามาสู่สังคมได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ เป็นต้น


คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 4
1.ความเป็นธรรมในสังคมโลกจะเกิดขึ้นได้นั้น  คนในสังคมต้องประพฤติปฏิบัติตนอย่างไร
การสร้างความยุติธรรมในสังคมยังทำได้โดยการปลูปฝังแนวคิดเรื่องการเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น และการรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบของคนในสังคม การมีความเคารพในสิทธิของผู้อื่นจะทำให้เกิดการยอมรับในความเสมอภาคเท่าเทียมของมนุษย์ทุกคน โดยไม่เลือกหรือไม่แบ่งแยกว่าเป็นคนเชื้อชาติใด ศาสนาใด เป็นคนรวยหรือคนจน เป็นคนมีแนวคิดทางการเมืองเช่นเดียวกันหรือมีแนวคิดต่างกัน
2.ความไม่เป็นธรรมในสังคมมีสาเหตุหลักมาจากอะไรบ้าง อธิบายมาพอสังเขป
เกิดจากการใช้อำนาจของทหารอย่างไม่เป็นธรรม 
 การใช้อำนาจของรัฐบาลอย่างไม่เป็นธรรม
  การใช้อำนาจของบุคคลอย่างไม่เป็นธรรม
3.นักเรียนคิดว่าสังคมมีความยุติธรรม มีลักษณะอย่างไร
การที่สังคมมีความยุติธรรมคนในสังคมได้รับความเสมอภาคเท่าเทียม ทำให้สังคมไม่เกิดความแตกแยก ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย เพราะทุกคนอยู่ภายใต้ความยุติธรรม และมีสิทธิเท่าเทียมกัน ได้รับโอกาสขั้นพื้นฐานในสังคมเช่นเดียวกัน


คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 5
1.สิทธิมนุษยชนมีความสำคัญอย่างไรกับความสงบสุขของสังคมโลก
เพาระหากรัฐบาลทุกประเทศในโลกปฏิบัติต่อประชาชนตามวิถีทางประชาธิปไตยและต่อชาวต่างชาติที่หนีร้อนมาพึ่งเย็น หรือทำมาหากินในประเทศอย่างมีมนุษยธรรมดาตามสมควรแล้วความขัดแย้งระหว่างรัฐบสลกับประชาชนในประเทศจะไม่เกิดขึ้น
2.สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในปัจจุบันของโลกมีอะไรบ้าง แล้วเป็นอย่างไร อธิบายใพอสังเขป
องค์กรสหประชาชาติมีมติรับรองปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีหลักการสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่
1.ด้านการเมืองและสิทธิความเป็นพลเมือง
2.สิทธิด้านสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม
3.สิทธิขุ้นพื้นฐานของบุคคล เช่น สิทธิในการนับถือศาสนา สิทธิที่จะอยู่อย่างสงบสันติ และสิทธิที่จะได้รับการพัฒนา
3.ยกตัวอย่างการละเมิดสิทธิมนุษยชนในโลกปัจจุบัน พร้อมบอกแนวทางแก้ไขปัญหา
ปัญหาการละเมิอสิทธิมนุษยชนเด็ก แนวทางแก้ไขปัญหาคือ
 1.การส่งเสริมเยาวชนให้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาของโลก
2.การแก้ไขปัญหาความยากจน และส่งเสริมด้านการศึกษา


คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 6
1.ปัญหาความขัดแย้งระดับประเทศที่เกิดขึ้นในสังคมโลกในปัจจุบันมีอะไรบ้าง และเป็นอย่างไร
ความขัดแย้งระดับท้องถิ่น คือความขัดแย้งภายในสังคมหนึ่ง ซึ่งอาจหมายถึงสังคมระดับชุมชน เมือง
ความขัดแย้งระดับประเทศ เป็นความขัดแย้งที่เป็นปัญหาขนาดใหญ่ และส่งผลกระทบต่อความสงบสุขมั่นคงของคนในชาติ
ความขัดแย้งระดับนานาชาติ เป็นความขัดแย้งที่มีคู่กรณีหลายประเทศ หรือความขัดแย้งส่งผลกระทบต่อนานาชาติ  เช่นปัญหาการเมืองหาการแข่งขันการเป็นผู้นำด้านต่างๆ
2.นักเรียนคิดว่าวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามามีอิทธิพลต่อชาติของเราหรือไม่ อย่างไร
มี เพราะวัฒนธรรมต่างชาติทำให้เกิดความหลากหลายทางด้าน ศาสนา และทำให้เกิดความเชื่อในศาสนาของตน และอาจเกิดความขัดแย้งกันได้ เพราะอาจทำให้ทุกคนไม่เข้าใจกันเนื่องจากนับถือคนละอย่างก็อาจอยู่กันเป็นกลุ่มๆ
3.แนวทางการแก้ไขปัญกาความขัดแย้งในด้านเชื้อชาติ ศาสนา นักเรียนมีข้อเสนอแนะอย่างไรเกี่ยวกับปัญหานี้
การเปิดรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างเพื่อทำความเข้าใจระหว่างกัน การเรียนรู้ความแตกต่างของวัฒนธรรมเพื่อที่จะปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง การเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่าง การจัดเสวนาหรือเจรจาเพื่อทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน การจัดกิจกรรมระหว่างกลุ่มที่แตกต่างทางวัฒนธรรม เป็นต้น


คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 7
1.เพราะเหตุใดนักเรียนจึงต้องรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านทรัพยากรและธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก
เพราะจะได้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นกับโลก เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ในฤดูร้อนอากาศจะแห้งแล้งมากขึ้น ส่งผลกรทบต่อการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในการดำรงชีวิตของประชากรในหลายพื้นที่ของโลก
2.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีแนวทางอย่างไร
การมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่า ลดและเลิกการใช้สารพิษ การใช้ทรัพยากรให้หลากหลาย การให้ความช่วยเหลือกัน การปลูกป่า การสร้างและพัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาแบบยั่งยืน เป็นต้น
3.การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนมีองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้างและมีความจำเป็นต่อสังคมปัจจุบันอย่างไร
คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน 
ความมั่นคงของเศรษฐกิจของชุมชน
ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความต้องการใช้ของประชาชน
ในการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนนั้นต้องมีการประเมินถึงความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของประชากรในชุมชนกับทรัพยากรที่มีอยู่ การพัฒนาที่จะก่อให้กิดผลที่ยั่งยืนยาวนาน คือการพัฒนาที่ไม่ก่อให้เกิดความเทรื่อมโทรมแก่คุณภาพสิ่งแวดล้อมและต้องกระทำอย่างจริงจัง


คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 8
1.โลกาภิวัตน์มีอิทธิพลต่อสังคมอย่างไร จงอธิบาย
การที่โลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์หรือโลกไร้พรมแดน นอกจากจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านการติดต่อสื่อสาร การขยายตัวของเศรษฐกิจการค้า และการเกิดวัฒนธรรมที่มีความเป็นสากล โลกาภิวัตน์ยังมีอิทธิพลทางด้านการเมือง สังคม และการตัดสินใจของบุคคลและสังคมด้วย
2.ยกตัวอย่างอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ที่มีผลต่อวัฒนธรรมของไทย พร้อมอธิบายมาพอสังเขป
การติดต่อสื่อสารอย่างกว้างขวางและแพร่หลายทั่วโลก ทำให้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมหนึ่งไปยังสังคมอื่นมากขึ้น นำไปสู่การเกิดวัฒนธรรมและค่านิยมสากลขึ้น เช่น วัฒนธรรมชุมชนออนไลน์ ค่านิยมเรื่องสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
3.ค่านิยมเรื่องใดบ้างที่เกิดจากอิทธิพลของโลกาภิวัตน์
ค่านิยมเรื่องสังคม
ค่านิยมเรื่องวัฒนธรรม
ค่านิยมเรื่องการเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น